เมื่อการเรียนรู้ ที่ต้องก้าวข้าม mindset เดิม ๆ

27 กรกฎาคม 2564
  •    1,311

 

 

 

 

 

เมื่อการเรียนรู้ ที่ต้องก้าวข้าม mindset เดิม ๆ ครูต้องทำอย่างไร

 

 


คุณครูภัทราภรณ์ เจริญชนม์ (ครูจ๊ะโอ๋) วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

 


การอบรมผ่านมาบ้างครับ คุณครูโอ๋ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการอบรม Goal-Setting Coaching

เดิมโอ๋มีประสบการณ์เรื่องของการเรียน coach มาน่ะค่ะ แล้วเราเคยเรียน coach แบบที่เต็มรูปแบบมา แต่เราไม่เข้าใจอ่ะ เราไม่เข้าใจเลยนะคะ ตอนนั้นน่ะ อาจด้วยความเป็นครู.. แต่พอมาเรียนอันนี้แค่ 1 ชั่วโมงครึ่ง สิ่งที่มันเกิดขึ้น คือโอ๋ชอบ แล้วโอ๋รู้สึกประทับใจ ตอนที่ตัวเองต้องสวมบทบาทเป็นนักเรียน (หัวเราะ) มันมี feel มันมีส่วนร่วม มันมีความ engagement เกิดขึ้นน่ะว่า พอเราจะต้องสวมบทบาทเป็นนักเรียนในขณะที่ครูอีกคนก็สวมบทบาทเป็นครู แล้วเราก็กำลังเป็นนักเรียนแบบไหน

แล้วตอนที่เรียนเนี่ย มันมี key word ที่โอ๋ชอบมากเลย คือ ชวนคุย ชวนคิด แล้วก็ชวนทำ ... ชวนคุย เดี๋ยวนะยังไม่เกิด แต่พอชวนคิดปุ๊บ เอาแล้ว เริ่มเกิด แต่พอตอนที่เราไปทำอ่ะค่ะ ถ้าเราเป็นครูเองนะคะ ตอนที่เราไปชวนเด็กทำอ่ะค่ะ เอ่อ... มันเป็นเรื่องที่ยากมากเลยที่เค้าจะก้าวข้าม mindset เดิม แล้วหนูก็ว่าหนูอยู่ปกติแบบนี้ หนูโอเคแล้วค่ะครู เหมือนภาวะที่แบบไม่เคยเก็บที่นอน แล้วต้องเก็บที่นอนน่ะ พ่อแม่เก็บที่นอนให้ เออ... ท้าทายตัวเองไหมล่ะ เออ... ถ้ารู้สึกว่าเป็นเรื่องท้าทาย ยากไหมล่ะ ถ้ามันยากก็ลองดูสักวันสองวันก่อนไหม

อ่ะ... ... ที่จริงมันจะกระโดดได้นะ แต่ก็ไม่ยอมกระโดด อ่ะ... แค่ก้าวเฉย ๆ อ่ะ... ค่อย ๆ ไปก็ได้ ... ตอนที่โอ๋เรียนน่ะ โอ๋มีภาวะที่โอ๋รู้สึกตื่นเต้น ... การชวนคุยเนี่ย มันคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เค้าก่อนค่ะ ให้เค้าได้พูดก่อน ให้เค้าได้ออกความคิดก่อน ให้เขาได้ระบายความรู้สึกก่อน พอหลังจากนั้นแล้ว พอเกิดการชวนคิดแล้วอ่ะ มันเริ่มท้าทายในสิ่งที่เค้ามีอยู่แล้ว แต่เค้าจะท้าทาย พัฒนาสิ่งที่มีให้มันเพิ่มขึ้นได้อย่างไร แล้วก็กลายเป็นการลงมือทำ

ซึ่งจริง ๆ มันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของเด็กท... ถ้ามองในภาวะความเป็นครูค่ะ ก็คือ head heart แล้วก็ hand ซึ่ง 3 อย่างเนี้ย คือ ชวนคุย ชวนคิด แล้วก็ชวนทำ เด็กก็จะสามารถทำได้ ซึ่งเราเองเคยผ่านเรื่องนี้มาเลยทำให้เรารู้ว่า วิธีการพูดหรือวิธีการสื่อสารเชิงบวกเนี่ยค่อนข้างสำคัญ โดยไม่ใช่การ command นะคะ มันไม่ใช่การต้องออกคำสั่งว่า วันนี้เธอต้องเก็บขยะให้ได้ 100 ชิ้นนะ วันนี้เธอต้องจัดระเบียบนะ คือ ถ้าเมื่อไหร่มีคำนี้ปุ๊บ ภาวะปกป้องที่เกิดในสมองของเขา มันจะส่งผลให้เด็กไม่อยากทำ

แต่ถ้า ครูบอกว่า เดี๋ยวนะ รองเท้ามันไม่เป็นระเบียบนิดนึงนะ เดี๋ยวเราจัดกันใหม่ ภาวะอันนี้เด็กจะรู้สึกว่าเค้าถูกชวนให้ไปทำ แต่ไม่ใช่ถูกสั่งให้ไปทำ เพราะเดี๋ยวนี้เด็กจะไม่ชอบกับการถูกสั่ง แต่เขาชอบการถูกชวน ดังนั้น จริง ๆ คำว่า “ชวน” ในความรู้สึกของเรา คือ สั่งเขานั่นแหละ แต่กลายเป็นว่ามันลดภาวะความเหลื่อมล้ำในสถานะ ของเราลงไปให้เท่าเขา

นอกจากนั้น ถ้าเราบอกให้เค้าทำโดยที่เราไม่ได้เอาตัวเองลงไปด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ครูมีแค่สั่งให้ทำเหรอ แต่ครูไม่ทำเหรอ โอ๋ชื่นชอบอยู่ครั้งนึงค่ะ เป็นความประทับใจของโอ๋เลย คือโอ๋ไปช่วยเด็กยกเก้าอี้โรงอาหาร แล้วคุณค่ะ เก้าอี้โรงอาหารมันไม่ใช่ตัวเบา ๆ มันจะมีแต่เด็กช่างที่ไปยก แล้วโอ๋ก็เลยบอกว่าเดี๋ยวครูช่วยยก แล้วมีเด็กคนนึงเป็นประธานรุ่นนี้ล่ะค่ะ เค้ามาจับมือ เค้ามาจับแขน 2 ข้างของโอ๋อ่ะ ครู ครูไม่ต้อง ครูออกมาเลย (หัวเราะ) เรารู้สึกว่าอย่างน้อยน่ะ เขาน่ะรู้สึกดีแล้วที่เราไปจับ แค่จับเก้าอี้ช่วยเขา มันเป็นภาวะที่เค้าอบอุ่นนะ

เค้าบอกว่า เฮ้ย... ครู ครูเป็นผู้หญิง ครูจะมายกทำไมครับเนี่ย ครูออกมาเลย เราก็รู้สึกว่ามันอบอุ่นทั้งเค้าและมันก็อบอุ่นเราอ่ะค่ะ แม้มันจะเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ เรื่องแค่นี้เองเหรอ แต่มันคือเรื่องราวที่น่าประทับใจน่ะค่ะ แล้วก็เกิดความจดจำ หลังจากนั้นเด็กคนนี้ก็ไม่เคยห่างหายไปจากชีวิตเลยนะคะ ประธานคนนี้ก็ยังติดต่อกันจนถึงทุกวันนี้ เค้าก็กลายเป็นประธานรุ่น

 

 

เดิมเค้าเป็นคนขี้เหล้า คือ เค้าไม่มีภาวะความเป็นผู้นำเลย แต่พอเค้ามาเจอเราปุ๊บ เราเข้าใจเค้า เอ่อ... มันก็ทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้ามีความภาคภูมิใจในการที่เค้าเป็นประธานในช่วงชีวิตหนึ่ง ถึงแม้เขาจะโดน feedback เชิงลบมาเยอะนะคะ แต่เราก็ให้ความสำคัญกับเค้า แล้วก็ให้เค้าได้ตระหนักว่า ตำแหน่งแบบนี้มันไม่ใช่ตำแหน่งที่ใครจะมาอยู่ง่าย ๆ และได้เรียนรู้ง่าย ๆ นะ เค้าก็เลยเข้าใจ แล้วเค้าก็เลยเห็นความสำคัญในตำแหน่งของเขาว่า เมื่อเขาก้าวข้ามออกมา แล้วเค้าผ่านพ้นมันมาได้เนี่ย เค้าเติบโตค่ะ แล้วเค้าก็ได้ทำการงานที่ดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ ค่ะ

 

 

โอ้โห...
ฟังเพลินไปเลย (หัวเราะ)
คือ... story ดีมากเลยครับ ดีมากเลย เพราะว่าครูโอ๋ใช้ความเป็นจิตวิญญาณ คือผมยังแปลกใจอยู่นะว่า ครูหนึ่งคน (ครู Idol ในอดีต)ที่ทำให้คุณครูโอ๋เปลี่ยน ทำให้คุณครูโอ๋เกิด passion ในการอยากเป็นครูอ่ะ มันส่งผลได้ขนาดนี้เลยหรอ ผมว่าอันนี้เป็นอะไรที่ดีมากเลย ตอนนี้เราอบรม Goal-Setting Coaching ไปแล้วใช่ไหมครับ คุณครูโอ๋จะนำมาใช้กับนักเรียนอย่างไรบ้าง มีการวางแผนไหมครับ ว่าจะใช้อย่างไร

O.K. ค่ะ ซึ่งจริง ๆ โอ๋มองว่า เอ่อ... อันนี้โอ๋รู้สึก แล้วคิดเองนะคะว่า ตอนที่เรียน Goal-Setting Coaching กับหนังสือ(สมุดบันทึกความดี) เหมือนมันมาคู่กัน ตรงที่ว่าหนังสือเนี่ย คือผลงาน คือความภาคภูมิใจที่เป็นรูปธรรมของเด็กออกมา แต่ Goal-Setting Coaching เนี่ยคือวิธีการที่เราจะชวนเด็ก ขับเคลื่อนเด็ก โดยที่โอ๋จะมีแผนอย่างนี้ค่ะว่า พอหลังจากเปิดเทอมปุ๊บ แล้วเจอกัน สิ่งที่โอ๋จะทำก็คือ มันจะมีกิจกรรมหลักสำหรับเราก็คือ กิจกรรม homeroom ซึ่งอันนี้เราสามารถเอาไปใช้ได้เต็มที่เลย

กิจกรรม homeroom เนี่ย เราเจอกันแค่ไม่กี่นาทีนะ ประมาณวันละ 10-20 นาทีไม่เกินนี้ค่ะ สิ่งที่เราอยากชวนให้เค้าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรืออยากชวนให้เค้าเกิดจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรมได้เนี่ย เค้าต้องเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โอ๋เลยอยากจะส่งหนังสือเล่มนี้ ผ่านตัวโครงการนี้ให้กับเค้า แล้วก็ให้เค้าลองดูค่ะว่า ในเทอม ในปีนี้เรามีอะไรที่อยากจะพัฒนา อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง

แต่ก่อนที่โอ๋จะชวนเขาน่ะค่ะ โอ๋จะต้องดู profile ของเขาแต่ละคนก่อนค่ะ เพราะโอ๋ไม่รู้จักเลยนะคะ profile ของเด็กแต่ละคน มาจากแต่ละที่ ที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งอันนี้โอ๋เป็นที่ปรึกษา คุณฟังแล้ว คุณจะงงนะคะ โอ๋เป็นครูภาษาอังกฤษแต่โอ๋เป็นครูประจำชั้นแผนกช่างไฟฟ้า เออ... ทำไมต้องแผนกช่างไฟฟ้า มีแต่นักเรียนชายทั้งหมด ...

เวลาโอ๋คุย ชวนเด็กคุยเนี่ย โอ๋จะคุยกับเด็กว่า เราอยาก up skill มั้ย เคยเล่นเกมใช่ไหม เด็กช่างเค้าจะเล่นเกม ตีดงตีดาบนู่นนี่นั่น

กับเทคนิคการ coach คือ เราจะชวนคุยก่อน ชวนเค้าคิดเค้าคุยก่อนว่า ขนาดเล่นเกมมันยังต้อง up skill เพื่อที่จะไปตี mons ให้มันตาย (mons = มอนสเตอร์ ตัวปีศาจในเกม) แล้วตัวเราเองจะทำให้เติบโตยังไง เพื่อให้เราแตกต่างจากเดิม นี่คือแผน นะคะ

แล้วก็ให้เค้าเขียนเป้าหมาย ให้เค้าทบทวนตัวเองก่อน โอ๋จะไม่ให้เค้ารีบเขียนนะคะ โอ๋จะให้เค้ากลับไปทบทวนก่อนว่า มีอะไรโน่นนี่นั่น เพราะว่าเวลาที่เค้าออกจากห้องเรียนไปเนี่ย ชั่วโมงที่โอ๋จะนำมาใช้เนี่ย โอ๋ใช้ได้แค่ตัวกิจกรรม homeroom อย่างที่บอกคือ เราจะเจอกันแค่ 10-20 นาทีแล้วเหมือน เอ่อ... มันจะมีเวลาให้ไปสังเกต เหมือนจับดี ใช่มั้ยคะ เออ... ไปนั่งสังเกตเพื่อน ๆ ว่าเพื่อน ๆ เค้าทำอะไรแตกต่างจากเดิมบ้าง

มีนะคะ ที่นี่มีภาวะที่เก็บเงิน 500 แล้วเค้าก็เอามาคืน เก็บเงินพันนึงก็เอามาคืน มันคือสิ่งที่น่าชื่นชม มันทำให้แบบ... เฮ้ย... ถ้าเค้าเก็บเงินได้ เค้าจะบันทึกลงล่ะ เออ... อย่างเนี้ยค่ะ แล้วก็หลังจาก ระหว่างทางที่เขาวางแผนอะไรเสร็จแล้วเนี่ย เราชวนคิดชวนคุยแล้ว ทุกสัปดาห์ เราจะสังเกตแล้ว เราก็จะดูในสมุดว่ามันมีอะไรเพิ่มเติมจากเดิม หรือมันมีพัฒนาการอะไรที่ได้เปลี่ยนแปลง แล้วก็มีการ sharing

การ sharing เราก็จะทำเป็นล้อมวง ซึ่งเวลาเรา share เนี่ย เราก็อยากให้เขาฝึก deep listening (การฟังอย่างลึกซึ้ง หัวข้อในการอบรมสัมมนาฯ ของทางโครงการรักษาศีล 5 - ผู้เขียน) เค้าไปด้วย ซึ่งการฝึก deep listening เนี่ย ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เพราะว่าเด็กทุกวันนี้อดทนน้อยมากค่ะ แต่เราก็ต้องค่อย ๆ ให้เค้าเห็นความสำคัญค่ะว่า มันเป็นเพราะอะไรที่ต้องใช้ deep listening ..

หลังจากนั้นพอเรามีกระบวนการที่เราค่อย ๆ สังเกต เราเองก็ต้องสังเกตเด็ก ในขณะที่เราเองก็ต้องทำเหมือนกันนะคะ เราก็จะมีเป้าหมายของเราเหมือนกัน ขับเคลื่อนไปเหมือนกัน

พอจะเริ่ม สัปดาห์ใกล้ ๆ สุดท้าย ตามที่โอ๋คิดไว้นะคะ คือโอ๋อยากให้เด็กทุกคน share ตลอดเทอมที่ผ่านมาว่า เอ่อ... จุดที่ตัวเองรู้สึกดีที่สุด หรือว่าเป็นเรื่องราวที่ตัวเองประทับใจที่สุด เราอยากให้นำมา share กัน แล้วทุกคนเขียนบนพื้นที่ area เดียวกันว่า เราชื่นชมเรื่องนี้จากการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ เพราะอะไร หรือทำไมเราถึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ .

ดังนั้นมันจะไม่มีเด็กหน้าห้อง ไม่มีเด็กหลังห้อง มันจะไม่ถูกแยกกัน... ระหว่างทางการทำสมุดบันทึกความดี เด็กอาจจะเหนื่อยนะคะ 12 สัปดาห์นี่ จะเป็นระยะยาว เราจะต้องกระตุ้นด้วย แล้วเราก็ต้องให้เขาได้พักบ้าง

 

 

 

คำว่า “พัก” ของโอ๋ นี่หมายถึง กับการมานั่งนิ่ง ๆ กับการมานั่งสมาธิ ที่นี่จะมีทุกช่วงวันศุกร์จะมีนั่งสมาธินะคะ แล้วช่วงวันศุกร์เนี่ยจะเป็นช่วงที่พวกเขาได้กลับมานั่งนิ่ง ๆ แล้วกลับมา pause กับชีวิตของตัวเอง แน่นอนค่ะเราเองก็ต้องดูแลใจเค้าด้วย เวลาจะขับเคลื่อนอะไรเราจะให้เค้าขับเคลื่อนฐานกายอย่างเดียวไม่ได้ค่ะ ฐานใจเราต้องไปด้วยกัน ถ้ามีฐานใจไปด้วย ฐานคิดมันจะมาด้วยกันทันทีค่ะ เค้าก็จะคิดดี ทำดี แล้วก็รู้สึกดีไปพร้อม ๆ กัน นี่ล่ะค่ะคือแผนที่โอ๋วางไว้ ประมาณนี้ค่ะ

 

Credits
Guest ภัทราภรณ์ เจริญชนม์ (ครูจ๊ะโอ๋)
Interviewer นิพันธุ์ ทาดี
Transcript กนกกาญจน์ กาญจนรัตน์
Author กมล ชาญศิลปากร นักพัฒนาเว็บฟรีแลนซ์ ที่ชอบงานไอทีเป็นชีวิตจิตใจ แต่ก็สนใจงานด้านพัฒนาจิตใจและศีลธรรม
เพราะเชื่อว่า ความรู้ต้องอยู่คู่กับความดี


  •    1,311