“คุณค่าของการเดินทางมิได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่ระหว่างทางของการเดินทางมากกว่า ยิ่งเดินทางด้วยการเดินเท้า เราจะพบเจอสิ่งต่างๆที่เราไม่เคยได้สัมผัส
ความน่าสนใจมิได้อยู่ที่สถานที่ต่างๆ หากแต่อยู่ที่ผู้คนที่เราได้พบเราได้สำรวจตัวเองอย่างละเอียดลออ เมื่อเหนื่อยล้าก็ได้สัมผัสถึงความเหนื่อยล้าแทบขาดใจ เมื่อหิวก็ได้สัมผัสถึงความหิว จนเกิดความรู้สึกว่าคนเรานี้หนอเกิดมาเพื่อหวังสิ่งใดกันแน่ เพียงปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิตยังมิเพียงพอกันอีกหรือ ตะเกียกตะกายทุรนทุรายไปเพื่อสิ่งใด หลายครั้งที่น้ำดื่มเพียงอึกเดียว จากคนที่เราไม่เคยรู้จัก ก็ทำให้ซาบซึ้งถึงน้ำใจอันแสนบริสุทธิ์จากเพื่อนร่วมโลก
ในสังคมที่วุ่นวาย สิ่งที่หล่อเลี้ยงที่ทำให้โลกนี้ปกติสุขได้ก็คือ ความรักและเมตตาธรรมโดยแท้”
อินเดีย...เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในความคิดและความทรงจำของดิฉันมาโดยตลอด ด้วยเพราะการศึกษาอย่างหนึ่งที่ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสกับดินแดนชมพูทวีปอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้รู้จักผู้คน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้งต่อการมองโลกอย่างรู้เท่าทัน
ความทุกข์ยากที่มองเห็น....ภาพขอทาน คนไร้บ้าน กรรมกรในอินเดียที่ในบทละคร เขียนไว้นั้น ไม่มีสิ่งใดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเลย
“มนุษย์ร่วมโลกตาดำๆ เหล่านี้มีอะไรบ้าง ที่นอนริมถนนน้ำครำ อาหารที่วันทั้งวันอาจจะมีแต่น้ำ ทั้งสัปดาห์ มีอาหารเต็มอิ่มเพียงมื้อเดียว เครื่องนุ่งห่มมีผ้าเตียวเพียงผืนเดียวตลอดชีวิต ยารักษาโรคไม่ต้องพูดถึง”
นั่นเป็นเรื่องจริงทั้งหมด และอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไม...ศาสดาของศาสนาต่างๆรวมถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเลือกอินเดีย เป็นสถานที่แห่งการตรัสรู้และบรรลุธรรม
เพราะความทุกข์มิใช่หรือ ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ สามารถดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
เพราะเห็นทุกข์...ธรรมจึงเกิด...
เพราะเห็นทุกข์...จึงเข้าใจได้ว่า ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง เพราะล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามกฎของไตรลักษณ์
ดิฉันดูฉากสุดท้ายของละครทองเนื้อเก้า ด้วยความอิ่มเอมและปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก ภาพของแม่น้ำคงคามหานทีแห่งชีวิต ในเมืองพาราณสี ผุดขึ้นมาในความรู้สึกอีกครั้ง เหมือนเพิ่งผ่านไปไม่นาน
ภาพของชาวฮินดูที่สวดอ้อนวอนพระผู้ เป็นเจ้า การวิงวอนขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าด้วยอารตีบูชาหรือการบูชาไฟ ไปจนถึงการเปลื้องผ้าผ่อนที่มีอยู่น้อยชิ้นลงอาบน้ำ ล้างหน้าในสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ คนแก่สวดมนต์อยู่ที่ริมแม่น้ำด้วยความหวัง
สิ่งเดียวที่อยู่เหนือใดๆทั้งหมด คือ “ศรัทธา”
ศรัทธาที่เชื่อว่าคงคามหานทีนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากมวยผมของพระศิวะ ที่สามารถล้างบาปได้ “ด้วยหัวใจของชาวพุทธ การได้มาสัมผัสสองฝั่งแม่คงคา ทำให้ดวงตาของเราสว่างขึ้น เราเข้าใจแล้วว่า ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเสด็จออกบวช ทั้งที่เสวยสุขในพระราชวังมาแต่ประสูติ เราเข้าใจแล้วว่า ทำไมชมพูทวีปแห่งนี้จึงทำให้เกิดศาสดามากมายหลายองค์นัก และศาสดายังถือกำเนิดในดินแดนแห่งนี้อีกต่อไปหลายองค์”
ในบันทึกของพระวันเฉลิม ที่เขียนถึงประสบการณ์ในอินเดีย ว่า...
“ปัจจัยสี่ ของมนุษย์ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค...แม้เมื่อเราเป็นเด็ก อยู่กับแม่ผู้มัวเมาในอบายมุข ถึงจะยากจนข้นแค้นยังไง เราก็ยังมีปัจจัยทั้งสี่นั้น และยังสามารถมีปัจจัยที่ห้าได้ด้วย นั่นคือ การศึกษา”
ขณะที่คนอินเดียส่วนหนึ่งไม่มีแม้แต่ปัจจัยเดียวในสี่ปัจจัยของการดำรงชีพ แต่สิ่งที่คนอินเดียมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ก็คือ “ศรัทธา” ซึ่งในชีวิตจริงแล้ว อาจเป็นสิ่งเดียวที่จะพาเราก้าวออกจากความทุกข์ได้
“เราได้เห็น บรรดาเศรษฐี ดารา ผู้มีอัน จะกินห่มส่าหรีไหมราคาแพงลิบ อาหารคำหนึ่งที่เข้าปากบุคคลเหล่านี้ ราคาอาจเท่ากับราคาอาหารตลอดเดือนของคนจนคนหนึ่ง
ภาพความน่าสลดหดหู่เหล่านี้ฝังแน่นเข้าไปจนถึงก้นบึ้งของหัวใจเรา...โลกนี้ช่างเต็มไปด้วยความมืดสลัว และมนุษย์ผู้ทุกข์มากจริงหนอ แต่เมื่อเทียบกับความทุกข์ยากที่เราได้ผจญมา และคิดว่าตัวเองน่าสังเวชหนักหนามันเป็นเพียงภัสมธุลี เมื่อเทียบกับความทุกข์ทั้งมวลในโลกยากไร้ใบนี้”
ภัสมธุลี...ที่หมายถึงฝุ่นผงที่เล็กกว่าธุลีเล็กๆเสียอีก...
ทุกวันนี้ ณ ริมฝั่งคงคามหานที ยังคงมีสิ่งที่ทำให้เราได้ปลงอนิจจัง สังเวช อยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย...ที่ทุกคนต้องเผชิญ
หัวใจของพระศาสนาอยู่ที่ไหนกันแน่... พระธรรมคำสอนขององค์ศาสดามิใช่หรือที่จะช่วยให้จิตสงบและช่วยฝูงชนผู้ทุกข์ยากได้ สิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่อลังการไม่สามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้เลย...เราเข้าใจว่าไม่มีใคร ห้ามศรัทธาของผู้คนได้ ศรัทธาของคนสิ้นหวัง ซึ่งสองมือไขว่คว้าหาสิ่งยึดเหนี่ยว แม้เพียงท่อนไม้ลอยน้ำมา ก็ต้องฉวยคว้าไว้
ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสนอย่างเช่นทุกวันนี้ ดิฉันได้สวดมนต์ขอพร วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ทุกอย่างคลี่คลาย หาทางออกได้โดยเร็ว
เพราะที่สุดแล้ว จุดสุดท้ายของชีวิต ก็คือความตาย ยากดีมีจนอย่างไร ก็ไม่มีใครหนีพ้น
“...ความทุกข์ยากที่ท่านผจญมาและคิดว่า ตนเองน่าสังเวชนักหนาเป็นเพียงภัสมธุลี เมื่อเทียบกับความทุกข์ทั้งมวลในโลกยากไร้ใบนี้...”
“คุณค่าของการเดินทางมิได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่ระหว่างทางของการเดินทางมากกว่า ยิ่งเดินทางด้วยการเดินเท้า เราจะพบเจอสิ่งต่างๆที่เราไม่เคยได้สัมผัส
ความน่าสนใจมิได้อยู่ที่สถานที่ต่างๆ หากแต่อยู่ที่ผู้คนที่เราได้พบเราได้สำรวจตัวเองอย่างละเอียดลออ เมื่อเหนื่อยล้าก็ได้สัมผัสถึงความเหนื่อยล้าแทบขาดใจ เมื่อหิวก็ได้สัมผัสถึงความหิว จนเกิดความรู้สึกว่าคนเรานี้หนอเกิดมาเพื่อหวังสิ่งใดกันแน่ เพียงปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิตยังมิเพียงพอกันอีกหรือ ตะเกียกตะกายทุรนทุรายไปเพื่อสิ่งใด หลายครั้งที่น้ำดื่มเพียงอึกเดียว จากคนที่เราไม่เคยรู้จัก ก็ทำให้ซาบซึ้งถึงน้ำใจอันแสนบริสุทธิ์จากเพื่อนร่วมโลก
ในสังคมที่วุ่นวาย สิ่งที่หล่อเลี้ยงที่ทำให้โลกนี้ปกติสุขได้ก็คือ ความรักและเมตตาธรรมโดยแท้”
อินเดีย...เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในความคิดและความทรงจำของดิฉันมาโดยตลอด ด้วยเพราะการศึกษาอย่างหนึ่งที่ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสกับดินแดนชมพูทวีปอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้รู้จักผู้คน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้งต่อการมองโลกอย่างรู้เท่าทัน
ความทุกข์ยากที่มองเห็น....ภาพขอทาน คนไร้บ้าน กรรมกรในอินเดียที่ในบทละคร เขียนไว้นั้น ไม่มีสิ่งใดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเลย
“มนุษย์ร่วมโลกตาดำๆ เหล่านี้มีอะไรบ้าง ที่นอนริมถนนน้ำครำ อาหารที่วันทั้งวันอาจจะมีแต่น้ำ ทั้งสัปดาห์ มีอาหารเต็มอิ่มเพียงมื้อเดียว เครื่องนุ่งห่มมีผ้าเตียวเพียงผืนเดียวตลอดชีวิต ยารักษาโรคไม่ต้องพูดถึง”
นั่นเป็นเรื่องจริงทั้งหมด และอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไม...ศาสดาของศาสนาต่างๆรวมถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเลือกอินเดีย เป็นสถานที่แห่งการตรัสรู้และบรรลุธรรม
เพราะความทุกข์มิใช่หรือ ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ สามารถดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
เพราะเห็นทุกข์...ธรรมจึงเกิด...
เพราะเห็นทุกข์...จึงเข้าใจได้ว่า ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง เพราะล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามกฎของไตรลักษณ์
ดิฉันดูฉากสุดท้ายของละครทองเนื้อเก้า ด้วยความอิ่มเอมและปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก ภาพของแม่น้ำคงคามหานทีแห่งชีวิต ในเมืองพาราณสี ผุดขึ้นมาในความรู้สึกอีกครั้ง เหมือนเพิ่งผ่านไปไม่นาน
ภาพของชาวฮินดูที่สวดอ้อนวอนพระผู้ เป็นเจ้า การวิงวอนขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าด้วยอารตีบูชาหรือการบูชาไฟ ไปจนถึงการเปลื้องผ้าผ่อนที่มีอยู่น้อยชิ้นลงอาบน้ำ ล้างหน้าในสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ คนแก่สวดมนต์อยู่ที่ริมแม่น้ำด้วยความหวัง
สิ่งเดียวที่อยู่เหนือใดๆทั้งหมด คือ “ศรัทธา”
ศรัทธาที่เชื่อว่าคงคามหานทีนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากมวยผมของพระศิวะ ที่สามารถล้างบาปได้ “ด้วยหัวใจของชาวพุทธ การได้มาสัมผัสสองฝั่งแม่คงคา ทำให้ดวงตาของเราสว่างขึ้น เราเข้าใจแล้วว่า ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเสด็จออกบวช ทั้งที่เสวยสุขในพระราชวังมาแต่ประสูติ เราเข้าใจแล้วว่า ทำไมชมพูทวีปแห่งนี้จึงทำให้เกิดศาสดามากมายหลายองค์นัก และศาสดายังถือกำเนิดในดินแดนแห่งนี้อีกต่อไปหลายองค์”
ในบันทึกของพระวันเฉลิม ที่เขียนถึงประสบการณ์ในอินเดีย ว่า...
“ปัจจัยสี่ ของมนุษย์ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค...แม้เมื่อเราเป็นเด็ก อยู่กับแม่ผู้มัวเมาในอบายมุข ถึงจะยากจนข้นแค้นยังไง เราก็ยังมีปัจจัยทั้งสี่นั้น และยังสามารถมีปัจจัยที่ห้าได้ด้วย นั่นคือ การศึกษา”
ขณะที่คนอินเดียส่วนหนึ่งไม่มีแม้แต่ปัจจัยเดียวในสี่ปัจจัยของการดำรงชีพ แต่สิ่งที่คนอินเดียมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ก็คือ “ศรัทธา” ซึ่งในชีวิตจริงแล้ว อาจเป็นสิ่งเดียวที่จะพาเราก้าวออกจากความทุกข์ได้
“เราได้เห็น บรรดาเศรษฐี ดารา ผู้มีอัน จะกินห่มส่าหรีไหมราคาแพงลิบ อาหารคำหนึ่งที่เข้าปากบุคคลเหล่านี้ ราคาอาจเท่ากับราคาอาหารตลอดเดือนของคนจนคนหนึ่ง
ภาพความน่าสลดหดหู่เหล่านี้ฝังแน่นเข้าไปจนถึงก้นบึ้งของหัวใจเรา...โลกนี้ช่างเต็มไปด้วยความมืดสลัว และมนุษย์ผู้ทุกข์มากจริงหนอ แต่เมื่อเทียบกับความทุกข์ยากที่เราได้ผจญมา และคิดว่าตัวเองน่าสังเวชหนักหนามันเป็นเพียงภัสมธุลี เมื่อเทียบกับความทุกข์ทั้งมวลในโลกยากไร้ใบนี้”
ภัสมธุลี...ที่หมายถึงฝุ่นผงที่เล็กกว่าธุลีเล็กๆเสียอีก...
ทุกวันนี้ ณ ริมฝั่งคงคามหานที ยังคงมีสิ่งที่ทำให้เราได้ปลงอนิจจัง สังเวช อยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย...ที่ทุกคนต้องเผชิญ
หัวใจของพระศาสนาอยู่ที่ไหนกันแน่... พระธรรมคำสอนขององค์ศาสดามิใช่หรือที่จะช่วยให้จิตสงบและช่วยฝูงชนผู้ทุกข์ยากได้ สิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่อลังการไม่สามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้เลย...เราเข้าใจว่าไม่มีใคร ห้ามศรัทธาของผู้คนได้ ศรัทธาของคนสิ้นหวัง ซึ่งสองมือไขว่คว้าหาสิ่งยึดเหนี่ยว แม้เพียงท่อนไม้ลอยน้ำมา ก็ต้องฉวยคว้าไว้
ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสนอย่างเช่นทุกวันนี้ ดิฉันได้สวดมนต์ขอพร วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ทุกอย่างคลี่คลาย หาทางออกได้โดยเร็ว
เพราะที่สุดแล้ว จุดสุดท้ายของชีวิต ก็คือความตาย ยากดีมีจนอย่างไร ก็ไม่มีใครหนีพ้น
“...ความทุกข์ยากที่ท่านผจญมาและคิดว่า ตนเองน่าสังเวชนักหนาเป็นเพียงภัสมธุลี เมื่อเทียบกับความทุกข์ทั้งมวลในโลกยากไร้ใบนี้...”
ตอกย้ำว่า เมื่อเรามองเห็นความทุกข์ของผู้อื่นอย่างเข้าใจในทุกข์แล้ว ทุกข์ของเราเองก็จะเล็กมาก เป็นเพียงแค่ “ภัสมธุลี” เท่านั้นเอง.
วันวิสาข์ ชูชนม์
ขอขอบคุณ : https://www.thairath.co.th/content/386289
รับชมเนื้อหาได้ที่
10 พฤษภาคม 2568
20 เมษายน 2568
10 เมษายน 2568