พลังของการตรวจสมุดบันทึก(ความดี)ของครูญี่ปุ่น
https://youtube.com/shorts/6x3FTvXxFHM?si=_41AaE7Um9BUzik_
เรื่องราวของ ยูอิจิ อาเบะ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ได้เป็นกระแสในโลกออนไลน์ เมื่อเขาได้แชร์ภาพวาด 2 ภาพที่เขาเคยทำในสมัยเรียน ภาพแรกเป็นภาพที่อาเบะวาดรูปลูกแอปเปิลในสมุดพกตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นสมุดที่ต้องส่งให้ครูประจำชั้นตรวจ ในภาพนั้นมีรอยวงกลมสีแดงจากปากกาของครู ซึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่นหมายถึง "ดีมาก" และข้อความที่เขียนว่า "นี่มันสุดยอดมาก ฉันต้องการให้เธอรักษาพรสวรรค์นี้เอาไว้ให้ดีนะ" สร้างความประทับใจให้กับอาเบะอย่างมาก จนเขาได้เก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้และนำมาโพสต์ใน Twitter ในอีกหลายปีต่อมา พร้อมกล่าวว่า "คุณครูครับ ผมยังวาดรูปอยู่นะ"
ปัจจุบันอาเบะในวัย 19 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในโรงเรียนศิลปะ และมีสไตล์การสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการนำอัญมณีมาผสมผสานกับสัตว์และธรรมชาติ ผลงานของเขาได้รับการคัดเลือกให้ไปปรากฎบนแสตมป์ของญี่ปุ่น จากโครงการ January 11th is the illustration’s day อีกด้วย
เรื่องนี้สร้างความประทับใจให้กับชาวเน็ตอย่างมากมาย และนี่ความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากชาวเน็ตญี่ปุ่น
“เรื่องนี้ทำให้ฉันน้ำตาไหล”
“ครูแบบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตใครบางคนได้เลยนะ”
“มันเป็นอะไรที่สวยงามมากเวลาที่คุณครูยกย่องภาพวาดในสมุดพก แทนที่จะบอกให้นักเรียนไปวาดเล่นที่อื่น”
“คุณครูผู้ยิ่งใหญ่จะรู้วิธีบ่มเพาะความสามารถเฉพาะตัวของนักเรียนเสมอ”
“ผมเคยอยากได้คุณครูสักคนที่จะให้กำลังใจผมแบบนี้ตอนที่ผมเป็นนักเรียน”
เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการให้กำลังใจ สร้างแรงผลักดัน และการสนับสนุนจากครูที่มีผลต่อการเติบโตของนักเรียนสอดคล้องกับหลักการของโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเยาวชนรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกำลังใจและการปลูกฝังคุณธรรม
เรื่องนี้พิสูจน์ให้เราเห็นว่า คุณครูที่ดีและเข้าใจนักเรียนจะสามารถเปลี่ยนแปลง ชีวิตนักเรียนให้ไปในทางที่ดีได้มากแค่ไหน
การตอบกับของครู : มากกว่าแค่การตรวจสมุดพก
การที่ครูของอาเบะไม่ได้มองข้ามภาพวาดในสมุดพก แต่กลับให้ความสนใจและชื่นชมอย่างจริงใจ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใส่ใจของครูที่มีต่อนักเรียน การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นการให้กำลังใจ แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าครูมองเห็นศักยภาพของนักเรียน และพร้อมที่จะสนับสนุนให้เขาพัฒนาตนเอง ในโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ก็เช่นกัน ครูมีบทบาทสำคัญในการตรวจสมุดบันทึกความดีของนักเรียน และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนทำความดีอย่างต่อเนื่อง
เรื่องราวของอาเบะมีความสอดคล้องกับหลักการและเป้าหมายของโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ในหลายด้าน:
การให้กำลังใจและการยอมรับ : การที่ครูให้กำลังใจและยอมรับในความสามารถของอาเบะ สอดคล้องกับเป้าหมายที่โครงการที่ต้องการสร้างภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
การใส่ใจของครู : การตรวจสมุดพกและให้คำแนะนำของครู แสดงถึงความใส่ใจที่มีต่อนักเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในโครงการที่เน้นให้ครูมีบทบาทในการดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
สมุดบันทึกความดี : การวาดภาพในสมุดพกของอาเบะ เทียบได้กับการใช้ "สมุดบันทึกความดี" ในโครงการซึ่งเป็นเครื่องมือให้นักเรียนได้ทบทวนตนเองและสร้างคุณค่า การตรวจสมุดบันทึกความดีของครู และการให้คำแนะนำ ด้วยปากกาสีแดง จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนทำความดีมากขึ้น
การพัฒนาทักษะ : การตรวจและการให้คำแนะนำในการเขียน เป็นการฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยและความรอบคอบ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการที่ต้องส่งเสริมทักษาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเขียนยังช่วยให้นักเรียนได้คิดวิเคราะและจัดลำดับความคิด
การสร้างแรงบันดาลใจ : เรื่องราวของอาเบะเป็นตัวอน่างที่แสดงให้เห็นว่าการให้กำลังใจ สามารถสร้างแรงบันดาลใจและส่งผลต่อเส้นทางอาชีพของนักเรียนได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการที่ต้องการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ
การทำความดี : การที่นักเรียนต้องหาเรื่องราวมาเขียนบันทึกความดี จะทำให้ต้องลงมือทำความดีจริง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของโครงการที่ต้องการให้นำธรรมะไปสู้ภาคปฎิบัติ
7 กิจวัตรความดี : โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ส่งเสริมการทำความดีผ่าน 7 กิจวัตรความดี ได้แก่ การรักษาศีล5, การสวดมนต์ นั่งสมาธิ, การทำความสะอาด จัดระเบียบ, การจับดีคนรอบข้าง(การคิดดี ), การพูดจาไพเราะ (การพูดดี), การบำเพ็ญประโยชน์และการออมบุญ (การทำดี) และการร่วมกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ พลังหมู่เสริมพลังเดี่ยว ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี
โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 : สร้างสังคมแห่งการให้กำลังใจ
โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการนำธรรมะไปสู่ภาคปฎิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักศีล 5 โครงการนี้ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสถานที่หล่อหลอมบ่มเพาะศีลธรรมให้เกิดขึ้นในตัวเยาวชนโดยมี " 7 กิจวัตรความดี" เป็นกรอบแนวทางปฎิบัติ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้ โครงการนี้ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหาร และนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข และส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
บทสรุป
เรื่องราวของยูอิจิ อาเบะ เป็นเครื่องยืนยันว่า การให้กำลังใจและการยอมรับในความสามารถของนักเรียนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง การที่ครูใส่ใจและให้คำแนะนำนักเรียนอย่างใกล้ชิดสามารถสร้างแรงบันดาลใจและส่งผลจต่อการเติบโตของพวกเขาได้ โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 สมุดบันทึกความดี เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นเด็กดี มีคุณธรรม และมีความสุขซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างสังคมที่สงบสุขและยั้งยืน สมกับเป็น
"ห้องเรียนแห่งความสุข"
อ้างอิง https://petmaya.com/apple-drawing-in-class-journal-japan/
บทความที่เกี่ยวข้อง
ถอดรหัสความสำเร็จการใช้สมุดบันทึกความดีสร้างคน บูรณาการเพื่อผลสัมฤทธิ์แห่งการศึกษาสร้างคนเก่งและดี
https://www.sila5.com/blog/blog/detail/var/34o2b4
Facilitation สู่การสร้างห้องเรียนแห่งความสุข: มุมมองจากคุณครูภาคสนาม:
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64w2d4
ครูเสกสันต์ ณ.เชียงใหม่ จากครูดุสู่ครูใจดี : เส้นทางการสร้างห้องเรียนแห่งความสุข
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64w2e4
ครูกาญจนา จารีย์ สอนเด็กให้ทำงานเป็นทีมด้วยผู้นำ 4 ทิศ: จากความเงียบ...สู่พลังแห่งการเรียนรู้
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64x264
ครูถาวร ศรีทุม จากความคาดหวัง สู่ความเข้าใจ : ความสุขของครูที่นักเรียนกล้าเข้าหา
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64w2f4
ครูสมหทัย แคว้นไธสง เปิดประตูสู่ความเข้าใจ : การใช้การฟังเชิงลึกเพื่อเปลี่ยนแปลงห้องเรียน
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64x274
ครูอลิศรา โพธิ์กิ่ง การสร้างภาวะความเป็นผู้นำในรั้วโรงเรียน : เรื่องการสื่อสารที่ดี
https://sila5.com/blog/blog/detail/var/64x284
#7กิจวัตรความดี #ห้องเรียนแห่งความสุข #เครื่องมือพัฒนานักเรียน #โรงเรียนรักษาศีล5