คณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านกันจุ ได้ดำเนินงานกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสนองพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ว่า “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” โดยดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ตัดประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริตแม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสำคัญ
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ หรือการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น
๔. น้อมนำพระบรมราโชวาท “คำพ่อสอน” สู่ภาคปฏิบัติเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ บุหรี่ การพนันและอบายมุขอื่นในโรงเรียน โดยน้อมนำหลักบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ตามหลักการพัฒนาของพระองค์ เป็นกรอบในการปฏิบัติและคณะครูทุกคนจะไม่ยุ่งหรือเกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกชนิด ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนเห็น ถ้าครูปลอดจากอบายมุขแล้วจะสามารถทำหน้าที่ครูได้อย่างเต็มที่ นักเรียนกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เกิดประโยชน์ต่อตัวครูและนักเรียน ทั้งในการเป็นแบบอย่างที่ดีและคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
๕. นำหลัก “ศาสตร์พระราชา” สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน เพื่อให้นักเรียน นำไปเป็นแนวทางการพัฒนาตนเองและครอบครัว ให้มีภูมิคุ้มกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งล้วนมุ่งให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตนเป็น “คนดี” ทั้งคิดดี พูดดี ทำดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สุจริต มีวินัย และมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดไป.
"โรงเรียนบ้านกันจุ" ได้พัฒนาโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม มาอย่างต่อเนื่องและได้เป็นแกนนำพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.และเป็นโรงเรียนต้นแบบรักษาศีล ๕ เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น ด้วย ๗ กิจวัตรความดี ซึ่งเป็นโครงการที่รณรงค์เรื่องการนำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ ฝึกฝน พัฒนาสร้างนิสัยที่ดี โดยการคิดดี พูดดี ทำดี ยึดหลักการสำคัญคือเปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก
"รณรงค์ให้สมาชิกหมั่นปฏิบัติ ๗ กิจวัตรความดี" ลงในสมุดบันทึกความดีและได้สร้างเครือข่ายไปยังโรงเรียนในศูนย์พัฒนาวิชาการกันจุสระแก้ว จำนวน ๑๒ โรงเรียน ตลอดจนเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครองนักเรียนให้ปฏิบัติตาม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
โรงเรียนบ้านกันจุ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนรักษาศีล5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 โดยนำ 7 กิจวัตรความดีนำไปบูรณาการเข้ากับโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด การพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา มีการปรับปรุงโครงการทุกปี เช่น โครงการหิ้วปิ่นโตเข้าวัด พัฒนาคุณธรรม โครงการโพธิสัตว์น้อย ลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า โครงการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ ห่วงใยผู้สูงอายุ
โดยก่อนเข้าโครงการพฤติกรรมของบุคลากรในโรงเรียน และชุมชนโดยรอบ
==1. มีครูบางท่านไม่ชอบเข้าวัด บางท่านยังชื่นชอบสังสรรค์ ดื่มสุรา เล่นการพนันและขาดวินัยในตนเอง
==2. นักเรียนบางส่วนมาโรงเรียนสาย ไม่มีความรับผิดชอบ พูดจาหยาบคาย เริ่มสนใจในอบายมุขทุกชนิด ติดเกม
==3. ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ลุ่มหลงในอบายมุข เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเด็กในชุมชน และไม่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียน
==4. ชุมชนส่วนใหญ่ขาดความศรัทธา ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
โดยการวิเคราะห์จากปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียน และการวิเคราะห์จุดเด่นและโอกาส จึงได้นำโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพเข้ามาสร้างระบบคุณธรรมในโรงเรียน เริ่มจากการนำ 7 กิจวัตรความดีมาประชุมคณะครูให้มีความเห็นร่วมกัน และนำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษา มีมติที่จะนำโครงการโรงเรียนรักษาศีล5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น มาบูรณาการกับโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ที่สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดเป็นแผนงานโครงการ มีการปฏิบัติตามแผนงานโครงการ มีการกำกับ ติดตาม งานในทุกระดับชั้น มีการประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของทุกส่วนที่ลงลึกถึงในชุมชน ในความพึงพอใจของโครงการ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกปี และโครงการมีการขยายเข้าสู่ชุมชน
โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการโรงเรียนเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
การที่โรงเรียนได้นำโครงการโรงเรียนรักษาศีล5 เชิงคุณภาพครอบครัวอบอุ่น มาพัฒนาอย่างจริงจัง และเข้มข้นมีความต่อเนื่อง ร่วมถึงทางโรงเรียนมีการวัดผลประเมินผลทุกปีการศึกษา นำโครงการมาบูรณาการที่สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดของแผนการศึกษาของชาติ การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โครงการตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด หลักสูตรแกนกลางทั้งสมรรถนะทั้ง 5 ประการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมาตรฐานตามสาระการเรียนรู้ ส่งผลให้คุณภาพผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น
==โดยโรงเรียนบ้านกันจุได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ รางวัล MOE AWARDS สาขาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ทั้งประเภทบุคคลและสถานศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
==รางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "สถานศึกษาพอเพียง 2560" จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
==รางวัล โล่เกียรติคุณโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข จากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องในงานวันครู พ.ศ.2561
==รางวัลโล่เกียรติยศ โรงเรียนต้นแบบแหล่งเรียนรู้รักษาศีล 5 จากโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น พ.ศ.2561
==โรงเรียนบ้านกันจุเข้าร่วมพัฒนาระบบคุณธรรมและที่มีผลกระทบจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทำให้มีผลทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) โดยมีผลรวมคะแนนเฉลี่ยสูงสุดทุกด้าน (โรงเรียนขนาดเล็ก) และได้โล่เกียรติยศจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
แรงขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ ท่านผู้บริหาร ผู้อำนวยการเพชร เทพวาที โดยท่านจะให้ความสำคัญของคณะครู นักเรียน ชุมชนไปพร้อมๆกัน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาโรงเรียน พัฒนาคณะครู พัฒนานักเรียน โดยวางรากฐานเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ซึ่งเมื่อชุมชนเข้มแข็งจะสร้างความยั่งยืนมากขึ้น ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่ประจักษ์ชัด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการคุรุสภา ประจำปี 2562
โดยโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ได้ใช้ "แนวคิด 7 กิจวัตรความดี" สร้างระบบคุณธรรมในโรงเรียน จากการเข้าร่วมในปีแรก เน้นการริเริ่ม ฝึกฝนตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเป็นหลักการบริหารงานบุคคล ที่ผู้บริหารสามารถนำปรับไปใช้กับคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนได้ พอเข้าปีที่ 2 ก็มีการส่งต่อพี่ดูแลน้อง และเป็นผู้นำกิจกรรมมีต้นแบบ โดยมีการส่งต่อรุ่นต่อรุ่นเป็นวัฒนธรรมขององค์กร สู่ความยั่งยืน
===โดยการเชื่อมโยงสู่แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Development Plan )ระยะ 4 ปี มีโครงการหลักด้านคุณธรรมมีความชี้วัดความสำเร็จในแต่ละปี มีตัวเลขที่สูงขึ้นพัฒนาขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพทุกปี
===นำมาเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี (Annual action plan )ที่โครงการและกิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกปีแต่ตัวชี้วัดความสำเร็จก็จะปรับได้ตานแผนระยะยาว ที่ครอบคลุ่มตัวชี้วัดที่หลากหลายตามบริบทของสถานศึกษา
===มีการทำรายงานการประเมินตนเองของโรงเรียน (Self Assessment Report : SAR ) และนำผลมาวิเคราะห์ (SWOT Analysis) เพื่อปรับปรุงในทุกๆปี
ในขณะเดียวกันกระบวนการทุกอย่างก็สามารถเชื่อมโยงกับเกณฑ์วิทยฐานะแบบใหม่ ที่ให้ครูได้พัฒนาตนเองจากการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนการสอน (Analysis of teaching and learning plans ) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Individual student analysis ) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research ) การใช้สื่อเทคโนโลยี่มาพัฒนาการเรียนการสอน
ทั้งนี้คณะครูก็สามารถนำโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้ากับภาระงานของครูได้เป็นอย่างดี คือทำโครงการเดียวสามารถสนองต่อการพัฒนาตนเองได้อีกหลายอย่าง รวมถึง กระบวนการ Professional Learning. Community (PLC) ที่คณะครูและผู้บริหารสามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดีในทุกสัปดาห์ นะครับ ยังมีเรื่องราวดีๆ กับโรงเรียนต้นแบบที่ได้รับความน่าเชื่อถือของความเป็น ระบบบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ประสิทธิภาพของบุคลากรในสถานศึกษาและประสิทธิผลของระบบพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษาที่ได้ผลชัดเจน
#โรงเรียนต้นแบบแหล่งเรียนรู้รักษาศีล5 #โครงการโรงเรียนรักษาศีล5เชิงคุณภาพ
#ครอบครัวอบอุ่น #นวัตกรรม7กิจวัตรความดี #
แผนยุทธศาสตร์ชาติ #แผนการศึกษาของชาติ #ระบบคุณธรรมในโรงเรียน
ขอขอบคุณ ผอ.เพชระ เทพวาที ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกันจุ จ.เพชรบูรณ์ และคณะครูโรงเรียนบ้านกันจุทุกท่าน
เอกสารเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1ZP_0VpJN1yJW5YNK3FAwj_Nx9iu3wMkG