ลูกชอบโกหก เกิดจากสาเหตุอะไร พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี?

23 ตุลาคม 2563
  •    6,100

เมื่อลูกเริ่มพูดเก่งสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆได้มากขึ้นบางทีก็จะคุยเรื่องโน้นเรื่องนี้จนบางครั้ง

คุณพ่อคุณแม่อาจกำลังฟังเรื่องที่ลูกแต่งขึ้นมา

 

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าสิ่งที่ลูกพูดอยู่นั้นไม่เป็นความจริง หรือเป็นเรื่องโกหก บางครั้งไม่ได้ใส่ใจ

กับคำพูดเหล่านั้น หรืออาจลงโทษว่ากล่าว จนทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า

 

ด้ทำไมลูกถึงชอบโกหก?

 

อายุก่อน 6 ปีเป็นช่วงเวลาที่ลูกช่างพูดช่างคุยช่างเจรจา และมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ในเด็กวัยนี้

ยังไม่สามารถแยกแยกแยะเรื่องราวที่จินตนาการกับเรื่องราวที่เป็นความจริงออกจากกันได้อย่างชัดเจน

 

ดังนั้นบ่อยครั้งเด็กจึงจะเล่าหรือพูดเรื่องราวต่าง ๆ เหมือนกับการสร้างเรื่องขึ้นมา จนทำให้คุณพ่อคุณแม่

อาจคิดว่าลูกกำลังโกหกตนอยู่

 

อย่างไรก็ตามเมื่อลูกโตขึ้นก็มักจะแยกแยะเรื่องราวต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนเป็นเรื่องจริงสิ่งไหนเป็นเรื่องสมมุติ

หากลูกแต่งเรื่องพูดหรือโกหกอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายอาจนำมาซึ่งนิสัยชอบโกหกหลอกลวงได้

 

นอกจากนี้ในวัยเด็กเล็ก ความสามารถในการแยกแยะระหว่างการรับรู้ของตน และการรับรู้ของผู้อื่นรู้มี

Theory of Mind นั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเข้าอกเข้าใจ รับรู้ความรู้สึก

และความคิดของผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้เด็กมีโอกาสที่จะโกหกได้มากขึ้น

 

ลูกโกหกนั้นเป็นเพราะอะไร?

 

บางครั้งที่เด็กๆพูดไม่จริง จนพ่อแม่รู้สึกว่าลูกชอบโกหก อาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ 

 

1. ลูกโกหกเพราะรู้สึกผิด มีหลายเหตุการณ์หรือร้ายปัจจัยที่สามารถทำให้เด็กโกหกได้

บ่อยครั้งโดยเฉพาะเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบตามใจและได้รับการดูแลมาก จะเลือกใช้การโกหก

เพื่อไม่ทำให้คนที่ตนเองรักหรือคาดหวังกับตนเองเสียใจ

หากเด็กถูกเลี้ยงแบบควบคุมใช้อำนาจ คุณพ่อคุณแม่มักจะลงโทษดุ่ด่าบ่อยครั้ง เด็กก็จะใช้

การโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

นอกจากนี้เด็กอาจจะใช้การโกหกเพื่อเป็นเกราะกำบังให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูยังคงเลี้ยงดูแบบตามใจ

และใส่ใจตนแบบเดิม

หลายๆครั้งพ่อแม่ของลูกที่โกหกก็มักจะมีความหวังว่าลูกจะพูดแต่ความจริง ดังนั้นลูกก็จะใช้การโกหก

เพื่อรักษาภาพพจน์ของตนเอง

 

2. ลูกโกหกเพื่อหลบหนีความผิดพลาด คุณพ่อคุณแม่ควรนึกไว้เสมอว่า ภายใต้การโกหกของลูกนั้น

มีบางสิ่งซ่อนอยู่ การหลบหนีจากความผิดพลาด และการทำให้พ่อแม่รู้สึกผิดหวังในตนเองเป็นอีกสาเหตุ

หนึ่งที่ทำให้เด็กโกหกได้

มีการศึกษาว่าคุณพ่อคุณแม่ที่แสดงความโกรธต่อหน้าลูกอย่างรุนแรง ลงโทษ ดุด่าหรือตี เมื่อลูกโกหก

จะยิ่งส่งผลให้ลูกโกหกซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

3. ลูกโกหกเพราะถูกสอนให้โกหก บางครั้งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูก็เป็นคนทำให้เด็กเกิดความสับสน

ว่าเมื่อใดควรพูดความจริง เมื่อใดควรโกหก

หรือบางครั้งก็สอนและเป็นตัวอย่างในการโกหกเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกดี ไม่รู้สึกเจ็บปวดเสียใจ หรือโกหกเรื่องเล็ก ๆ

น้อย ๆ เพื่อบอกปฏิเสธสถานการณ์ต่าง ๆ ที่รู้สึกว่ายาก ไม่อยากทำ ด้วยการกระทำดังกล่าวเรียกว่าเป็นการ

โกหกโดยมีเจตนาดี (White lie)

สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เด็กเรียนรู้ว่าการโกหกเป็นสิ่งดีได้ เช่น ลูกมีงานกีฬาสีที่โรงเรียน แต่วันนั้นแดดร้อนจัด

คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงกลัวลูกไม่สบาย จึงโกหกบอกคุณครูว่าลูกปวดท้อง จึงไม่ได้ไปร่วมงาน

 

อะไรที่ส่งเสริมให้ลูกชอบโกหก?

 

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปแล้วสิ่งต่อไปนี้อาจส่งเสริมให้ลูกชอบโกหกมากขึ้น

 

*ลักษณะการเลี้ยงดูแบบใช้ควบคุมใช้อำนาจ เข้มงวด วางกฎเกณฑ์ให้ลูกอย่างเคร่งครัด

*ความสามารถทางภาษาที่ดีในการเล่าเรื่องราว

*ความต้องการที่จะเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่

 

พ่อแม่ควรรับมือกับปัญหารูปภาพโกหกอย่างไร?

 

เมื่อทราบว่าลูกโกหก สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ บอกให้ลูกทราบว่าเรารู้ว่าลูกกำลัง

โกหกอยู่หลีกเลี่ยงการลงโทษโดยใช้ความรุนแรง พูดคุยกับลูกโดยแสดงท่าทีอ่อนโยน เข้าใจ

และมีความจริงใจต่อกัน เช่น

 

"แม่ต้องการให้หนูพูดความจริง และแม่จะพูดความจริงกับหนูเช่นกัน เพราะเชื่อใจกันและกันนะจ๊ะ"

"หนูจะรู้สึกดีขึ้นถ้าหนูบอกความจริงกับพ่อกับแม่แทนการโกหก"

 

ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักเสมอว่าท่าทีที่แสดงออกมาและคำพูดของตนในการพูดเรื่องจริง

จะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดสู่ลูกให้เรียนรู้เรื่องของความเป็นจริง และความผิดชอบชั่วดี

 

ดังนั้นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะรับมือกับลูกชอบโกหกจึง ได้แก่

 

*เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกเรื่องความซื่อสัตย์

*สร้างความไว้ใจสร้างความไว้วางใจแก่กัน

*สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ

*ชมเชยเมื่อลูกทำดีและมีความซื่อสัตย์

*สอนลูกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีของคนในสังคม

 

หากลูกโกหกแล้วปล่อยไว้ จะส่งผลเสียต่อตัวลูกเองอย่างไร?

 

มีการศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกของเด็กตั้งแต่อายุ 1-3 ปีขึ้นไป พบว่า

สัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและสังคมของเด็ก

พฤติกรรมนี้จะค่อย ๆ ถูกพัฒนาและปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคุณธรรมจริยธรรมประจำตัว

และยังพบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมโกหกซ้ำ ๆ จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาอื่น ๆ เมื่อโตขึ้น เช่น ขาดความ

น่าเชื่อถือจากบุคคลรอบข้าง ไม่มีเพื่อน มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า หากได้โกหกซ้ำ ๆ จะมีพัฒนาการที่ไม่ดีในด้านความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

ขาดการควบคุมตนเอง และพฤติกรรมต่อต้านสังคม

 

เมื่อไหร่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ?

 

เมื่อพ่อแม่สังเกตเห็นว่าลูกชอบโกหก และได้ทำความเข้าใจรวมถึงให้ความช่วยเหลือดังคำแนะนำ

ข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล คุณแม่คุณพ่ออาจจะพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา โดยเฉพาะหาก

ลูกมีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

 

*ลูกโกหกซ้ำ ๆ

*ลูกขโมยของหนีโรงเรียน

*ลูกทำร้ายข้าวของทำร้ายผู้อื่น

 

หรือจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูกังวลไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมโกหกของลูกได้ก็สามารถ

ปรึกษาแพทย์ได้เช่นกัน

 

 

ที่มา https://today.line.me/

 


  •    6,100